เข้าใจเบาหวานแบบง่ายๆ
สมุนไพรเบาหวาน
โรคเบาหวาน เป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกินค่าปกติ เนื่องจากร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ ทุกคนมีความเสี่ยงมากน้อยต่างกันไปโดยไม่จำเป็นต้องมีโรคอ้วนร่วมด้วยหรือมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
ประเภทและสาเหตุของโรคเบาหวาน
เบาหวานประเภท 1 มักพบในผู้ที่อายุน้อย มีน้ำหนักตัวน้อย เกิดจากตับอ่อนไม่ผลิตอินซูลิน
เบาหวานประเภท 2 มักพบในผู้ที่อายุมาก มักมีรูปร่างอ้วนและมีประวัติโรคเบาหวานในครอบครัว เกิดจากตับอ่อนผลิตอินซูลินลดลง หรืออินซูลินทำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ หรือเซลล์ไขมันจะผลิตฮอร์โมนบางตัวออกมารบกวนการทำงานของอินซูลินในผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน
เบาหวานจากสาเหตุเฉพาะ เช่น โรคเบาหวานที่สาเหตุทางกรรมพันธุ์ โรคของตับอ่อน ฮอร์โมนผิดปกติ จากยาบางชนิดเช่น ยาสเตียรอยด์
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ สตรีตั้งครรภ์บางท่านจะผลิตฮอร์โมนบางตัวออกมารบกวนการทำงานของอินซูลิน
วิธีสังเกตตัวเอง
>>> ปัสสาวะบ่อย
>>> กระหายน้ำบ่อย ต้องการดื่มน้ำปริมาณมาก
>>> น้ำหนักลด
>>> อ่อนเพลีย
>>> แผลหายยาก
>>> คันตามผิวหนัง ติดเชื้อราง่าย
>>> เหน็บชาหรือรู้สึกเหมือนเข็มทิ่มบริเวณมือ ขา หรือเท้า
>>> ตาพร่ามัว
อ่านผลวัดระดับน้ำตาล
ผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงคือ
>>> มีน้ำตาลสะสมเฉลี่ย (HbA1c) >6.5% หรือ
>>> มีน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารเช้า >126mg/dL หรือ
>>> มีน้ำตาลในเลือดหลังอาหาร > 200mg/dL
เป็นเบาหวานแล้วดูแลตัวเองอย่างไร?
โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังต้องดูแลตนเองอย่างสม่ำเสมอ
>>> การควบคุมอาหาร
>>> การออกกำลังกายสม่ำเสมอ
>>> หลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน
>>> หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
>>> ดูแลดวงตาและเท้าเป็นพิเศษ
โรคเบาหวานกับผักเชียงดา
ราชินีผักพื้นบ้านของภาคเหนืออย่าง “ผักจินดา” หรือ “ผักเชียงดา” เป็นผักพื้นบ้านไทยที่มีสกุล (Genus) เดียวกับ Gymnema Sylvestre ที่พบมากในประเทศอินเดีย ซึ่งถูกใช้รักษาโรคเบาหวานมานานกว่า 2,000 ปี จนได้รับขนานนามว่าเป็นนักฆ่าน้ำตาล ด้วยเหตุนี้ผักเชียงดาพื้นบ้านของไทยในชื่อ Gymnema จึงมีงานวิจัยมากมายจากสถาบันชั้นนำในต่างประเทศ โดยสรรพคุณของผักเชียงดานั้นไม่ได้มีแค่ปรับระดับน้ำตาลในเลือด แต่ยังช่วยปรับความดันโลหิต ลดอาการแพ้ ลดอาการไข้ และอื่นๆอีกด้วย โดยมีคำยืนยันจากผู้ทดลองดื่มชาผักเชียงดาและผักเชียงดาแคปซูลว่า ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง เห็นผลได้ในรอบตรวจน้ำตาลทุกเดือนและช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยอีกด้วย ข้อมูลวิจัยผักเชียงดา>>คลิ๊ก<<
เรียบเรียง: กลุ่มสันมหาพนสมุนไพรอินทรีย์
อ้างอิง: 1. น.พ ณัฐพงศ์ โฆษชุณหนันท์, ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน, 30 เมษายน 2550
อ้างอิง: 2. โรคเบาหวาน (diabetes), http://www.medicthai.com/โรคต่างๆ/item/97-เบาหวาน
อ้างอิง: 3. ข้อมูลโรคติดต่อไม่เรื้อรัง, กรมควบคุมโรค, http://thaincd.com/information-statistic/non-communicable-disease-data.php